“น้ำดื่มอัลคาไลน์” ป้องกันผิวแห้งและผิวขาดน้ำ

“น้ำดื่มอัลคาไลน์” ป้องกันผิวแห้งและผิวขาดน้ำ

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทความ แมนเนเจอร์

“น้ำดื่มอัลคาไลน์” ป้องกันผิวแห้งและผิวขาดน้ำ



ผิวที่เปล่งปลั่งดูสุขภาพดีนั้นย่อมดีกว่าผิวแห้ง ลอกเป็นขุย แตก ดูไม่สดใส แต่ปัญหาผิวที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งผิวแห้งและผิวขาดน้ำ ซึ่งเรามีวิธีป้องกันและรักษาผิวของคุณได้อย่างถูกต้องมาฝากกันค่ะ

 

ผิวแห้ง

ผิวแห้ง คือ สภาพผิวที่ขาดซีบัม (Sebum) หรือ น้ำมันธรรมชาติของผิวเพราะต่อมไขมันผิวหนังผลิตซีบัมออกมาไม่เพียงพอต่อร่างกายจึงทำให้ผิวแห้ง บางครั้งอาจเกิดปัญหากับสุขภาพ เช่น โรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเพราะคนที่ผิวแห้งมักจะมีรูขุมขนที่เล็ก เนื่องจากไม่มีน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยงผิว รูขุมขนจะไม่ขยายกว้างเหมือนคนที่มีลักษณะผิวที่มัน

 

ผิวขาดน้ำ

ผิวขาดน้ำ คือ ภาวะที่ผิวขาดความชุ่มชื้น หรือ น้ำในผิวหนังชั้นบนสุด, ชั้นขี้ไคล (Stratum Corneum) เป็นปัญหาผิวหนังที่สามารถเกิดกับทุกสภาพผิว ได้แก่ ผิวผสม ผิวแห้ง ผิวปกติ หรือ ผิวมันก็สามารถที่จะเจอปัญหาผิวขาดน้ำได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับคนที่ผิวมันมากๆ หรือ เป็นสิวนั้น ถ้าหากปล่อยให้ผิวยังขาดน้ำผิวก็จะยิ่งแย่มากกว่าเดิม

 

ผิวขาดน้ำลักษณะอย่างไร

ผิวหนังชั้นบนสุดของร่างกายจะมีเซลล์คีราติโนไซต์ (Keratinocytes) เป็นหลักที่คอยผลิตสารโปรตีนไม่ละลายน้ำ เรียกว่า “เคราติน” ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนเกราะป้องกัน ซึ่งจะกักเก็บน้ำให้กับผิว แต่พอผิวขาดน้ำเซลล์คีราติโนไซต์ (keratinocytes) จะไม่สามารถผลิตเคราตินออกมาปกป้องผิวได้ ผิวของคุณก็จะเสียความชุ่มชื้น สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองก็จะเข้าสู่ผิวชั้นหนังกำพร้าได้ง่ายและจะส่งผลให้เกิดปัญหาผิวอื่นๆตามมาได้ ดังนี้

1.ผิวระคายเคือง คัน อักเสบ แสบแดง หรือแพ้ง่าย
2.รู้สึกได้ว่าผิวเหนื่อยล้า หย่อนยาน
3.ผิวขรุขระไม่เรียบเนียน
4.มีปัญหาสิวเห่อ
5.ใต้ตาดำคล้ำ
6.ผิวทั้งแห้งทั้งมันในเวลาเดียวกัน
7.มีปัญหาผิวลอกแตก บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเลือดออก
8.ผิวมีริ้วรอยร่องตื้น

 

สาเหตุของผิวขาดน้ำ

1.สภาพแวดล้อม

มลภาวะทางอากาศที่คุณต้องพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นไม่ว่าจะเป็นภายในและภายนอก ได้แก่ อากาศแห้ง อากาศจากเครื่องปรับอากาศ แสงแดด ควันรถ เป็นสาเหตุที่ดึงความชุ่มชื้นออกจากผิวและทำให้ผิวของคุณขาดผิวได้

2.ไลฟ์สไตล์

การใช้ชีวิตประจำวัน หรือ ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนนั้นก็ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวของคุณขาดน้ำได้ บางคนเป็นคนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ กาแฟ น้ำอัดลม ชาและคนที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็จะเจอปัญหาผิวขาดน้ำได้เช่นกัน

 

“น้ำดื่มอัลคาไลน์” ป้องกันผิวแห้งและผิวขาดน้ำ

น้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่าง คือ น้ำดื่มสะอาดที่มีค่า pH เป็นด่าง (มากกว่า pH 7) ซึ่งสภาพความเป็นด่างนั้นมีส่วนในการช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ อีกทั้งยังช่วยในการดูดซึมเข้าไปจับไขมันส่วนเกิน และพวกโลหะหนักในร่างกายได้ดีขึ้น เพียงแค่ดื่มวันละ 8 แก้วอย่างต่ำก็จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวแทนการเพิ่มน้ำมันให้ผิว

 

ประโยชน์ของน้ำด่างหรือน้ำดื่มอัลคาไลน์(น้ำด่าง) กับค่าต่างๆ

– pH 10 น้ำซุป น้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่างมีโมเลกุลขนาดเล็กลง ทำให้สามารถละลายแร่ธาตุที่มีประโยชน์ที่มีประโยชน์ออกจากอาหารได้ดีขึ้น และยังช่วยกำจัดรสขม รสฝาดลิ้น กลิ่นสาป จึงเหมาะสำหรับการทำน้ำซุปต่างๆ
– pH 9.5 หลังออกกำลังกาย โมเลกุลของน้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่างมีขนาดเล็กจะสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยเติมน้ำที่ขาดหายไปได้อย่างรวดเร็ว
– pH 9 หุงข้าว แช่ข้าวดิบในน้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่างเป็นเวลา 30-60 นาทีก่อนหุง เม็ดข้าวสวยจะสุกเร็วขึ้น และสามารถจะใช้น้ำน้อยลงกว่าปรกติ ทำให้มีรสชาติอร่อยขึ้นโดยไม่แฉะ
– pH 8.5 สำหรับดื่ม กำจัดความอ่อนเพลียเมื่อยล้า เพราะแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และโปตัสเซียม จะซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกายได้รวดเร็ว จากนั้นน้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่าง ยังมีค่า ORP ลบสูง (OXIDATION REDUCTION POTENTIAL) ช่วยสร้างสมดุลในร่างกาย กำจัดของเสียประเภทกรดออกจากร่างกาย
– pH 7.5 สำหรับชงนมเด็ก น้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่างผสมกับนมผงจะช่วยเสริมสร้างกระดูกในตัวเด็กผู้เริ่มดื่มน้ำดื่มอัลคาไลน์ (Alkaline Water) หรือ น้ำด่างครั้งแรกให้เริ่มดื่มที่ค่านี้ก่อน
– pH 5.5 สำหรับผิวภายนอก

ด้วยความปรารถนาดีจาก

น้ำดื่มอัลคาไลน์ (น้ำด่าง) ตราแมนเนเจอร์ (Alkaline Water pH8.5+ By ManNature)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook


บทความที่น่าสนใจ

กินอาหารมื้อดึก ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

ประโยชน์ของ “ช็อคโกแลต”