“เมลาโทนิน” ในอาหารเสริม
อาหารเสริมที่มีเมลาโทนินมีส่วนช่วยในการนอนหลับ การทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบเป็นเมลาโทนินนั้นจะช่วยให้คุณนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ แต่ถ้ารับประทานมากเกินไป เมลาโทนินในอาหารเสริมก็สามารถที่จะสร้างความเสี่ยงและมีผลข้างเคียงอย่างไร
เมลาโทนินคืออะไร
เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่อยู่ในร่างกายของเราอยู่แล้วตามธรรมชาติ สร้างจากต่อมไพเนียลในสมองซึ่งจะส่งผลต่อสภาพทางชีวภาพและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มีหน้าที่ในการควบคุมวงจรการหลับ - ตื่น (Sleep wake cycle) โดยสารนี้จะหลั่งออกมามากในตอนกลางคืนและจะลดลงในตอนกลางวัน ความมืดจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสัญญาณให้ร่างกายเตรียมตัวนอนหลับ ส่วนแสงสว่างนั้นจะลดการผลิตของสารเมลาโทนินและเป็นสัญญาณให้ร่างกายเตรียมตัวตื่นนอน ผู้คนที่มีปัญหาในการนอนหลับอาจจะเกิดเพราะมีระดับสารเมลาโทนินในร่างกายน้อย การเพิ่มปริมาณของสารเมลาโทนินด้วยการกินอาหารเสริมจะช่วยในการนอนหลับได้ นอกจากช่วยเรื่องการนอนหลับแล้วยังช่วยป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกายและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เมลาโทนินยังสามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อรักษามะเร็งได้
การใช้เมลาโทนินในภาวะอื่น ๆ
- เนื้องอก
การใช้เมลาโทนินในปริมาณมากเป็นการเสริมการรักษามะเร็ง ช่วยลดผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดและการฉายแสง รวมถึงป้องกันและรักษามะเร็งได้หลายชนิด
- แดดเผา
การทาเมลาโทนินก่อนออกแดดอาจช่วยป้องกันการถูกแดดเผาได้
- อาการปวดกราม (Temporomandibular disorder)
รับประทานเมลาโทนินก่อนเข้านอนนาน 4 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ 44% และเพิ่มความสามารถในการอดทนต่อความเจ็บปวดนี้ขึ้นประมาณ 39%
- ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia)
การรับประทานเมลาโทนินสามารถเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดที่ต่ำจากโรคมะเร็ง การรักษามะเร็ง
- ความดันโลหิตสูง
การรับประทานเมลาโทนินที่มีการปลดปล่อยยาคงที่ (Controlled – release) ก่อนเข้านอนจะทำให้ลดระดับความดันโลหิตในผู้มีความดันโลหิตสูงได้
ผลข้างเคียงของเมลาโทนิน
เมลาโทนินจัดว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ ส่วนมากเมื่อนำเข้าร่างกายหรือทาผิวหนังในระยะเวลาอันสั้น สำหรับผู้ใดที่ใช้ในระยะเวลายาว ผู้ใช้บางคนสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในเวลา 2 ปี เมลาโทนินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ อย่างเช่น ปวดศีรษะ ซึมเศร้าในระยะสั้น ง่วงนอนกลางวัน วิงเวียน ดังนั้นหลังใช้ยาเมลาโทนินไม่ควรขับรถหรือทำงาน สำหรับการฉีดเมลาโทนินเข้าร่างกายโดยตรง เมลาโทนินค่อนข้าวจะปลอดภัยหากอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
ข้อควรระวัง
- สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร
เมลาโทนินไม่ปลอดภัยเมื่อบริโภคหรือฉีดเข้าร่างกายขณะตั้งครรภ์ เพราะเมลาโทนินจะเข้ามาทำให้ตกไข่และทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น
- เด็ก
เมลาโทนินปลอดภัยเมื่อบริโภคหรือฉีดในปริมาณที่เหมาะสมพอดี แต่ถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้ส่งผล
กับฮอร์โมนตัวอื่น
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ
เมลาโทนินอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
- ภาวะซึมเศร้า
เมลาโทนินอาจทำให้อาการของโรคซึมเศร้าทรุดลงได้
- เบาหวาน
เมลาโทนินจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของผู่ป่วยโรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
เมลาโทนินสามารถเพิ่มความดันโลหิตของผู้ที่กำลังใช้ยาควบคุมความดัน
- ภาวะชักเกร็งผิดปกติ
การใช้เมลาโทนินอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก
- ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
เมลาโทนินสามารถเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันและอาจะส่งผลเสียต่อการบำบัดในการกดภูมิคุ้มกันที่ต้องให้ผู้ป่วยกำลังปลูกถ่ายอวัยวะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
วิธีกินอาหารเสริมเมลาโทนิน
อาหารเสริมเมลาโทนินควรกินในประมาณ 1 – 10 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารเมลาโทนินแต่ละผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนรับประทานควรอ่านฉลากอย่างละเอียด นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้เด็กและวัยรุ่นกินอาหารเสริมเมลาโทนิน
เพิ่มเมลาโทนินด้วยวิธีธรรมชาติ
- ก่อนเข้านอนควรหลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์
- ปิดไฟในเวลานอน เนื่องจากการมีแสงไฟมากเกินไปสามารถลดการทำงานของสารเมลาโทนินในสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อการหลับนอน
ด้วยความปรารถนาดีจาก mannature
ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook
บทความที่น่าสนใจ