กินอาหารมื้อดึก ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

กินอาหารมื้อดึก ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทความ แมนเนเจอร์

กินอาหารมื้อดึก ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร



หลายคนมักชอบใช้ชีวิตยามค่ำคืน ไม่ว่าจะทำงานดึก อ่านหนังสือดึก ดูซีรีส์ดึก จนอาจรู้สึกหิวและนำไปสู่การ กินอาหารมื้อดึก พฤติกรรมนี้ ย่อมมีผลเสียต่อร่างกายได้

 

คนในยุคปัจจุบันหลายคน เสพติดการใช้ชีวิตในตอนกลางคืนที่มีความสงบ และมีอิสระมากกว่าในช่วงกลางวัน จนติดเป็นนิสัย หรือบางคนนั้น อาจจะมีพลังงานในการใช้ชีวิต รู้สึกหัวแล่นมากกว่าตอนกลางวัน ทำให้มักทำงานในช่วงดึกได้ โดยพฤติกรรมในการใช้ชีวิตในช่วงกลางคืน อาจส่งผลให้หลายคนมีความรู้สึกหิว อยากอาหาร จนต้องทานอาหารในมื้อดึกเพิ่มเติม ซึ่งถึงแม้ว่า การกินอาหารมื้อดึก จะช่วยแก้อาการหิวของเราได้ แต่ก็มีผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ดังต่อไปนี้

 

นอนไม่สบายตัว

 

การรับประทานอาหารมื้อดึก หลายคนทานแล้ว อีกไม่นานก็เข้านอนเลย ร่างกายจึงไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม หรือที่หลายคนเรียกว่า "เดินย่อย" ทำให้เมื่อนอนลงไป อาจรู้สึกจุกท้อง แน่นท้องได้ เพราะอาหารค้างอยู่ ไม่ได้ย่อยตามช่วงเวลาปกติ ทำให้นอนไม่สบายตัว นอนไม่หลับ และอาจนำไปสู่การนอนที่ไม่เพียงพอต่อวันได้

 

อ้วนขึ้น

 

การกินอาหารมื้อดึก ถือว่าเป็นมื้ออาหารที่ถูกเพิ่มเติมต่อวัน ไม่ใช่อาหารมื้อหลักที่เราจำเป็นต้องทานใน 3 มื้อ คือ เช้า กลางวัน และเย็น ทำให้ต่อวัน ร่างกายได้รับอาหารเพิ่มมาอีกหนึ่งมื้อ บวกกับในช่วงกลางคืน ไม่ใช่เวลาที่ ระบบย่อยอาหารและเผาผลาญ จะทำงานได้ตามปกติ ทำให้อาหารที่กินไปช่วงดึก ตกค้างอยู่ข้ามคืนภายในร่างกาย ผู้ที่ทานอาหารมื้อดึก จึงอ้วนได้ง่ายขึ้น

 

ผิวพรรณแย่ แก่ก่อนวัย

 

แน่นอนว่า การกินอาหารมื้อดึก ส่งผลให้เรานอนดึกตามไปด้วย จึงขัดขวางการหลั่งของ ฮอร์โมนเมลาโทนิน ( Melatonin Hormones ) ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่ช่วยในการต้านสารอนุมูลอิสระ ที่จะทำงานขณะเรานอนหลับ เมื่อเรานอนดึก จะทำให้ฮอร์โมนชนิดนี้ หลั่งได้นอนลง การต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ก็น้อยตามไปด้วย ทำให้ผิวพรรณดูหมองคล้ำ ใบหน้าไม่สดใส มีริ้วรอย มีรอยเหี่ยวย่น ดูแก่ก่อนวัย

 

ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต่ำลง

 

นอกจากกระทบการทำงานของ ฮอร์โมนเมลาโทนิน แล้ว ยังกระทบกับ โกรทฮอร์โมน ( Growth Hormones ) ที่จะทำงาน ในช่วงที่ร่างกาย หลับสนิทเช่นกัน ทำให้มีการหลั่งที่ผิดปกติ หรือหลั่งน้อยลง ซึ่งโกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่มีการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอ โดยเฉพาะ ในวัยรุ่นที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตอย่างมาก และจะหลั่งน้อยลงเรื่อย ๆ หลังอายุ 25 ปีเป็นต้นไป ผู้ที่เริ่มมีอายุ จึงไม่ควรนอนดึก หรือ กินอาหารมื้อดึก เพราะหากกระทำ โกรทฮอร์โมน หลั่งออกมาทำงานน้อยกว่าเดิม ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ อ่อนแอ และภูมิคุ้มกันต่ำลงได้

 

พฤติกรรมการ กินอาหารมื้อดึก ไม่ได้เพียงส่งผลโดยตรงต่อระบบย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย การทำงานตามปกติของฮอร์โมน และระบบอื่น ๆ ตามไปด้วย หากคุณ กินอาหารมื้อดึก เป็นประจำจนติดเป็นนิสัย ก็จะยิ่งทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของคุณทำงานได้แย่ลง และไม่มีประสิทธิภาพได้ และอาจนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือด กรดไหลย้อนเรื้อรัง เป็นต้น

 

รู้ถึงผลเสียของการ กินอาหารมื้อดึก แบบนี้แล้ว คุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบโดยรวมต่อสุขภาพ ตามคำแนะนำ ดังนี้

 

  • จัดตารางเวลา : หลายคน มักจะมีกิจกรรมค้างคามาจากช่วงกลางวัน จึงควรจัดตารางเวลาในแต่ละวัน และทำตามแผนที่วางให้ไว้ให้เสร็จได้ตามเวลาที่ตนเองกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในช่วงกลางคืน และอาจนำไปสู่การทานมื้อดึกได้

 

  • ทานอาหารเย็นเพิ่มขึ้น : ทานอาหารมื้อเย็นในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถอยู่ท้องได้นานได้

 

  • ทานได้ แต่ต้องเลือกทาน : หลายคนที่เลี่ยงการกินอาหารมื้อดึกยังไม่ได้ ก็สามารถกินได้ แต่ต้องปรับพฤติกรรมในการกิน โดยควรทานในปริมาณที่เล็กน้อย ไม่ควรทานในปริมาณที่เทียบเท่ากับมื้ออาหารปกติ และอาหารที่เลือกทาน ต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และรสชาติไม่จัดด้วย และต้องกินก่อนนอน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยก่อนนอน และนอนหลับได้อย่างสบายขึ้น

 

การกินอาหารมื้อดึก สามารถแก้ได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ เมื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการกินอาหารในช่วงกลางคืนได้ ร่างกายของคุณก็จะทำงานได้ตามปกติ สุขภาพดีของคุณก็จะดีขึ้นได้ตามระดับ

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

5 เทคนิค ดื่มน้ำ ให้ครบต่อวัน

เวย์โปรตีน เหมาะไหมนะกับผู้สูงอายุ


บทความที่น่าสนใจ

ลดปัญหาฝุ่นภายในบ้านด้วยเครื่องฟอกอากาศ

ข้อดีและข้อเสียของ โปรตีนจากพืช