ซึมเศร้า โรคร้ายที่ควรแก้ไข

ซึมเศร้า โรคร้ายที่ควรแก้ไข

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทความ แมนเนเจอร์

ซึมเศร้า โรคร้ายที่ควรแก้ไข



ซึมเศร้า โรคร้ายที่ควรแก้ไข

เป็นโรคทางจิตเวช เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพกาย เป็นโรคที่คนยังไม่ค่อยรู้จัก แต่มีผลกับชีวิตมาก วันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับโรคนี้ ลองมาอ่านกัน

โรคซึมเศร้า ถือว่าเป็นโรคอีกหนึ่งที่สามารถเป็นได้ทุกคน ทุกช่วงวัยอายุ เหมือนกับโรคทางกายอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใด ๆ ซึ่งในปัจจุบัน โรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือ ทั้งสองอย่างรวมกัน

ทางการแพทย์ เรียกว่า Clinical depression หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และเป็นพยาธิสภาพแบบหนึ่งที่พบได้ในหลาย ๆ โรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคทางอารมณ์ คือ โรคซึมเศร้า ( Major Depressive Disorder หรือ Depressive Episode ) และ โรคไบโพลาร์ ( Bipolar Disorder ) โรคทางอายุรกรรมบางโรค สารจากยาบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าที่รุนแรงได้

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้า ที่พบบ่อย ก็คือ การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญ กับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

โรคซึมเศร้าเกิดจากความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติ เคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์

การเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลย หรือ ดูแลไม่ดี ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่ง ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเอง และ โลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือ เครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย เช่น หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้

 

อาการของโรคซึมเศร้า

  • โรคซึมเศร้ามีอาการรู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือ รู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
  • ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต
  • น้ำหนักลดลง หรือ เพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
  • คนที่เป็นโรคซึมเศร้า จะรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
  • กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ
  • คิดถึงแต่ความตาย และ อยากที่จะฆ่าตัวตาย

อาการข้างต้นเหล่านี้ ถ้าหากเกิดอาการนานมากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็น โรคซึมเศร้า หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของท่าน ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน

 

การรักษาโรคซึมเศร้า

โรคนี้ สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และ การรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี ภูมิคุ้มกัน สามารถต่อสู้กับปัญหา ที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้ว การรักษาโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือ ผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

 

การรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การวิธีรักษาโรคซึมเศร้า ทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการ ”พูดคุย” กับจิตแพทย์ 10 ถึง 20 ครั้ง อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหา และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมองกับแพทย์ การรักษาทางพฤติกรรมจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะได้รับความพอใจ หรือความสุขจากการกระทำของเขา และพบวิธีที่จะหยุดพฤติกรรมที่ อาจนำไปสู่ความซึมเศร้าด้วย

การรักษา ต่อไปที่มีการศึกษาและวิจัยแล้วว่า สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง ผู้ป่วยกับคนรอบข้างที่อาจ เป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า ส่วนการรักษาแบบหลังจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมในแง่ลบกับตนเอง

ส่วนการรักษาโดยอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ก็นำมารักษาโรคนี้ โดยช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง มีอาการกำเริบซ้ำๆ จะต้องการการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจควบคู่กัน เพื่อผลการรักษาในระยะยาวที่ดีที่สุด

 

รักษาโรคซึมเศร้าด้วยการใช้ยา

ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ

กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง)

กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI

กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)

 

หลีกเลี่ยง การซื้อยากินเองจากร้านขายยา ยืมยาจากเพื่อน หรือกินยาจากแพทย์ท่านอื่นปนกับโรคซึมเศร้า โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน เช่นเดียวกับแพทย์คนอื่นหรือหมอฟันด้วยว่า ท่านกำลังกินยารักษาโรคซึมเศร้าอยู่ อย่าวางใจว่า เป็นแค่ยาพื้นบ้านธรรมดา คงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอะไรร้ายแรง การดื่มแอลกอฮอล์จากเหล้า เบียร์ หรือไวน์ จะลดประสิทธิภาพของยาลง

 

ยานอนหลับหรือยาลดความกังวล ไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยลำพัง อย่างที่กล่าวแล้ว แม้ว่าบางครั้งแพทย์จะสั่งใช้ยาชนิดนี้ควบคู่ไปกับยารักษาโรคซึมเศร้า เพื่อบรรเทาอาการกังวลในระยะต้นของการรักษา และไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทหรือยาม้าเพื่อหวังผลให้หายเพลียเพียงชั่วครั้งชั่วคราว

 

สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปราถนาดีจาก แมนเนเจอร์ ( ManNature )

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

สุขภาพดีง่ายๆ แค่ผ่อนกาย สบายใจ

ออกกำลังกาย ตอนไหนก็ได้จริงหรอ?

 


บทความที่น่าสนใจ

หน้ากากN95กับ หน้ากากธรรมดา

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ประโยชน์ ที่บำรุงทั้งภายในและภายนอก