เหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร

เหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทความ แมนเนเจอร์

เหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร



ร่างกายมนุษย์เรา มีสิ่งน่าพิศวงมากมายนัก ทั้งที่ยังหาคำตอบได้ และยังหาไม่ได้ น้ำ สำคัญมากสำหรับมนุษย์เรา แล้วน้ำที่ไหลอกจากร่างกายเรา หรือที่เราเรียกกันว่าเหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน เราไปหาคำตอบกัน

 

เหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมเราต้องมีเหงื่อ?

     แม้ว่าเหงื่อ จะทำให้เรามีบุคลิกที่ไม่ดี แต่เหงื่อก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในแง่ของการเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการขับความร้อนของร่างกายออกมาทางผิวหนัง ผ่านเหงื่อเม็ดเล็กๆ เหล่านี้ ที่ช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายเรา ให้เป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากคนที่มีอาการไข้สูง หากผู้ป่วย สามารถระบายความร้อนออกมาทางผิวหนังผ่านเหงื่อได้ จะพบว่า อาการไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงนักกีฬาที่ใช้พลังงานมากๆ ทำให้ร่างกายเต็มไปด้วยความร้อน การมีเหงื่อออกมาตามร่างกายส่วนต่าง ก็เป็นการช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ ไม่ให้ร่างกายร้อนจัดจนเป็นอันตรายได้

 

ทำไมคนเราถึงมีเหงื่ออกมากน้อยไม่เท่ากันล่ะ

     ในเรื่องของปริมาณเหงื่อ อาจจะขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงส่วนเล็ก จริงๆ แล้วมาจากสุขภาพของแต่ละคนมากกว่า อาจจะเห็นได้ว่าคนที่ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ จะมีเหงื่ออกง่ายกว่าคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เพราะร่างกายสามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายโดยการขับเหงื่อออกมาในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งก็ช่วยให้ร่างกายไม่ร้อนจัดจนเกินไป และมีแรงออกกำลังกายต่อไปได้อีก ในขณะที่คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย แล้วยังไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ทันท่วงที หรือขับเหงื่อออกมาได้มากเพียงพอ อาจจะเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และอาจมีความเสี่ยงหน้ามืด เป็นลม จากความร้อนภายในร่างกายที่ไม่ได้รับการขับออกมาผ่านเหงื่อตามรูขุมขน

 

สาเหตุของเหงื่อออกมาก

     โดยปกติแล้ว การออกกำลังกาย อากาศที่ร้อนอบอ้าว รวมถึงภาวะวิตกกังวลหรือภาวะเครียด มักเป็นสาเหตุให้ร่างกายขับเหงื่อมากขึ้น แต่ภาวะเหงื่อออกมาก จนผิดสังเกต เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งแยกตามประเภท ดังนี้

 

- เหงื่อออกมากชนิดปฐมภูมิ เหงื่อออกมากชนิดนี้เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจเกิดจากพันธุกรรมได้ โดยผู้ที่มีเหงื่อออกมากมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้เช่นเดียวกัน และมักพบในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ส่วนปัจจัยร่วมที่ทำให้อาการนี้แย่ลง ได้แก่ การออกกำลังกาย, ภาวะเครียด หรือความวิตกกังวล

- เหงื่อออกมากชนิดทุติยภูมิ เป็นชนิดที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การตั้งครรภ์, อ้วน, น้ำตาลในเลือดต่ำ, เบาหวาน, หมดประจำเดือน ซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกับอาการร้อนวูบวาบ มะเร็งบางชนิด อย่างมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองอุดตัน โรคปอด ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ไทรอยด์เป็นพิษ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ พาร์กินสัน และโรคติดเชื้อ เช่น เอดส์ วัณโรค เป็นต้น หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น เดซิพรามีน, นอร์ทริปไทลีน และโพรทริปไทลีน เป็นต้น

 

     ซึ่งสาเหตุของการเกิดเหงื่อในร่างกายคนนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็ควรหัดสังเกตความผิดปกติของเหงื่อ เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพที่ดีของเราอยู่เสมอ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

- เราจำเป็นต้องทานสารอาหารที่มีประโยชน์ทุกวัน หรือไม่

- เลือกทานอย่างไร ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด


บทความที่น่าสนใจ

คลายเครียดด้วย การนวด น้ำมันมะพร้าว

น้ำดื่ม อัลคาไลน์ ดีจริงหรือ ?