ช่วง “โควิด-19” ระบาด สั่ง อาหารออนไลน์ ต้องระวัง

ช่วง “โควิด-19” ระบาด สั่ง อาหารออนไลน์ ต้องระวัง

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทความ แมนเนเจอร์

ช่วง “โควิด-19” ระบาด สั่ง อาหารออนไลน์ ต้องระวัง



    

บริการ “ เดลิเวอรี่ (Delivery) ” หรือ บริการส่งของ กลายเป็นธุรกิจที่กำลังไปได้สวย ในระหว่างสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ( COVID-19 ) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

 

และ เทรนด์ที่กำลังมาแรงกว่า ก็คือ การส่งบริการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี  ในช่วงไวรัสระบาดแบบนี้ แต่ใครจะรู้ว่า บริการส่งอาหารมีอันตราย ตามมาด้วยกันหลากหลายประการ เรียกว่ามีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสียในคราวเดียวกันเลยนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ผู้เขียนก็ได้รวบรวมคำแนะนำ เพื่อให้เรามั่นใจว่าปลอดภัยจากเจ้าเชื้อไวรัสได้เต็มร้อย และยังใช้บริการเดลิเวอรี่ได้ตามปกติอีกด้วย ดังนี้เลย

 

คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการเดลิเวอรี่

1. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือ ใช้เจลแอลกอฮอล์ สำหรับทำความสะอาดมือ หลังการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร ก็เช็คให้ดีว่ามือเราสะอาดพอหรือยัง ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัวว่ามือเราจะเปื่อย เพราะยังดีกว่าไม่ล้างเลยนะจริงไหม

 

2. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยหากมีอาการป่วย ในระหว่างการรับอาหาร จากคนขนส่งอาหาร อันนี้เป็นเรื่องปกติและจำเป็นในคราวเดียวกัน หากกลัวลืมใส่หน้ากากอนามัย แนะนำว่าให้ลองหาซื้อสายคล้องหน้ากากไว้ แล้วห้อยคอตลอดเวลา ซื้อครั้งเดียวแต่มีประโยชน์มาก ๆ เลยนะเห็นไหม

 

3. หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ปรุงด้วยนม กะทิ เป็นต้น ควรนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน

 

ปล ทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกอย่างก็คือ ไม่ควรเก็บอาหาร หรือ ขนมบางอย่าง ที่ทำจากกะทิไว้ค้างคืนด้วยนะ เพราะส่วนตัวผู้เขียนก็เคยเผลอทำขนมจากกะทิ แล้วแช่เย็นไว้นี่แหละ จะบอกว่ามาอีกวันนี่ แข็งโป๊ก ๆ เลยล่ะ ดังนั้นหากสั่งขนมจำพวกนี้มารับประทาน ก็ให้รับประทานเลย น่าจะเวิร์คสุดแล้ว

 

4. ตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น ความสะอาด สภาพอาหารและไม่มีกลิ่นเน่าเสีย ความเหมาะสมของภาชนะบรรจุ การปกปิดอาหาร เป็นเรื่องปกติธรรมดา คงมีมีผู้บริโภคคนไหน พึงพอใจกับอาหารเน่าเสีย ภาชนะที่ใส่บุบ หรืออีกหลาย ๆ ปัจจัยที่ทำให้เราถึงขั้นทานอาหารนั้นไม่ได้เลย จริงไหม

 

พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ให้คำแนะนำถึงบรรดาธุรกิจร้านอาหาร ที่จัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ เอาไว้ดังนี้

 

1. อาหารปรุงสำเร็จ ต้องปรุงสุกใหม่ สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุง ให้สุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลย เช่น อาหารทะเลสด ไม่ผ่านการปิ้ง ย่าง หรือผ่านความร้อน อย่างเมนูพวกกุ้งแช่น้ำปลา บรรดาเมนูตระกูลหอยนางรมทั้งหลาย หรือ เมนูยอดนิยมอย่าง แซลมอนซาชิมิ จิ้มกับวาซาบิ รู้ว่าลูกค้าหลายกลุ่มโหยหา แต่ก็ต้องเซฟไว้ก่อน ทานแบบปรุงสุกไปก่อนจะดีที่สุด

 

2. หากผู้ปรุงอาหารมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที หูกระจงควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้าน ( เอ๊ะ! เกี่ยวรึเปล่านะ ) โควิดก็เช่นกัน หากมีอาการต้องพักทุกอย่าง เซฟตัวเอง กับคนรอบข้างอย่างคนส่ง หรือลูกค้าที่รัก ไว้ก่อน แถมยังเป็นการสร้างมาตรการความไว้วางใจ เพื่อที่ลูกค้าจะได้กลับมาอุดหนุนเราใหม่ในครั้งหน้า ก็ไม่สายเกินไปนะ

 

3. จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่สำหรับล้างมือ หรือจัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ สำหรับทำความสะอาดมือ อาจจะเคลียร์บริเวณด้านหน้าร้านของคุณซักเล็กน้อย อาจไม่ถึงขั้นต้องติดตั้งอ่างล้างมือก็ได้ แค่แขวนตะกร้าเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ พร้อมแปะป้ายตัวโต ๆ ว่า ‘ กรุณาล้างมือทุกครั้ง ’ ดูกดดันหน่อย ๆ แต่เราก็ช่วยกันเซฟกันเองนี่แหละ ไม่ดีเหรอจริงไหม

 

4. จัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหาร ที่เข้ามาใช้บริการโดยจัดระยะห่าง 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม หรือหากเป็นร้านเล็ก ๆ ก็ลองหามาตรการที่เหมาะสมดู อย่างเช่น ขอความร่วมมือกับคนส่งอาหาร ในการรอรับสินค้าในบริเวณที่จัดไว้ให้ หรืออาจจะมีการลำดับหมายเลข รันคิวก่อนหลังตามลำดับ ตามแต่เหล่าบรรดาเจ้าของธุรกิจ พ่อค้าแม่ขายจะสะดวกเลย

 

5. จัดหาภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท แข็งแรง ปกปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง ไม่ใช้โฟมในการบรรจุอาหาร แล้วถามว่าภาชนะไหนถึงจะเหมาะสม ที่พอจะผ่อนปรนให้ ก็คงจะเป็นถุงพลาสติกใสมัดด้วยยางไว้ ให้ลูกค้านำไปแกะใส่จานเองน่าจะดีกว่า

 

แล้วถ้าลูกค้าคนนั้นกักตัวอยู่ตามคอนโด อพาร์ทเมนต์ แล้วไม่มีถ้วยชามล่ะ ก็สามารถระบุมากับคนรับอาหารได้ ว่าขอจานชามสำหรับใช้แล้วทิ้งเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งแนะนำว่าควรใช้ถ้วยชามที่ทำด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ง่าย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้ได้อยู่เหมือนกัน

 

6. อาหารปรุงสำเร็จ มีการติดฉลากที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ชื่อร้านอาหาร วัน / เดือน /ปี เวลาที่ผลิต ระยะเวลา และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร เป็นต้น กรณีจัดส่งอาหารที่ค่อนข้างมีความเสี่ยง อย่างอาหารที่ใช้มือสัมผัสมาก เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ และอื่น ๆ

หรืออย่าง อาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ นม ควรแนะนำให้ผู้บริโภค นำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน ด้วยการนำไปเข้าไมโครเวฟเป็นเวลา 2 – 3 นาที หรือนำไปนึ่งในหม้อก่อน ก็ได้

 

 ดังนั้น ทุกท่านจะนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะ เชื้อโรค สามารถแพร่เชื้อได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่คุณไม่รู้ว่า เชื้อนั้ัน ติดมาจากไหน ทางที่ดี ป้องกันไว้ดีก่อนจะสายเกินแก้ เพราะสุขภาพตัวเองนั้นสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด หากร่างกายแย่ สุขภาพจิตก็แย่ตามไปด้วย ปลอดภัยไว้ก่อนนี่แหละ เซฟตัวเองกันตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่าเนอะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ปรับตัวให้เข้ากับ Work from home

ตอบคำถามชวนสงสัย COVID-19 เคลียร์ให้หายข้องใจ

อันตรายที่มากับการนั่ง "ดูหนัง-ซีรีส์" นานๆ ช่วง Work From Home


บทความที่น่าสนใจ

PM2.5กลับมาอีกครั้ง

งาขี้ม่อน ของดีที่ไม่ควรมองข้าม