อาการแบบไหนถึงเรียกว่า

อาการแบบไหนถึงเรียกว่า

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

บทความ แมนเนเจอร์

อาการแบบไหนถึงเรียกว่า



หลายคนอาจจะไม่ได้ถ่ายอุจจาระทุกวัน ก็เลยสงสัยว่าแบบนี้จะเรียก ท้องผูก หรือเปล่านะ แต่คำตอบก็คือ คนที่ท้องผูกนั้นจะต้องมีการถ่ายอุจจาระน้อยผิดปกติ คือประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งอุจจาระนั้นจะเป็นก้อนแข็งและเล็กลง

 

ท้องผูก เกิดจากอะไร ?

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกมีมากมาย อาจจำแนกออกเป็น 3 อย่าง คือ

 

เกิดจากพฤติกรรมแบบผิดๆ

          การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันแบบผิดๆ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ท้องผูกเริ่มตั้งแต่เรื่อง ” กิน ” ที่หลายคนไม่ชอบทานผัก-ผลไม้ชอบทานแต่เนื้อสัตว์ ไขมัน หรือแป้งมากเกินไป โดยเฉพาะแป้งจำพวกข้าวสาลีที่ผ่านกระบวนการแปรรูปจะยิ่งย่อยยากกินแล้วทำให้ท้องอืด ท้องผูก หรือดื่มน้ำน้อยเกินไป รวมทั้งยังเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกายวันๆ นั่งทำงานอยู่กับที่แทบไม่ได้ขยับตัวไปไหนก็ทำให้ลำไส้บีบตัวน้อย และนอกจากเรื่อง “ กิน ” แล้วยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เราท้องผูกได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน การนั่งรถนาน การเดินทางไกล ใช้ที่สวนทวารบ่อยครั้ง ฯลฯ

 

การใช้ยา

          รู้ไหมว่า " ยา " บางชนิดที่เราทานเข้าไปรักษาโรคบางอย่าง อาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น ยาคลายเครียด ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ความดันสูง ยาลดกรด รวมทั้งอาหารเสริมจำพวกธาตุเหล็ก และยาแก้ปวดที่มีสารประกอบโคเดอีน (codeine) ทำให้การย่อยอาหารช้าลง มีผลให้เกิดอาการท้องผูก

 

มีโรคประจำตัว

          อาการท้องผูกอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน หรือมีก้อนเนื้องอก มีมะเร็งอุดกั้นลำไส้ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถ่ายอุจจาระลำบาก กระทั่งท้องผูกได้เหมือนกัน

 

ท้องผูกทําไงดี แก้ง่ายๆ แค่เปลี่ยนพฤติกรรม

          เมื่อสาเหตุหลักๆ ของอาการท้องผูกเกิดจากพฤติกรรมของผู้นั้น การจะแก้ปัญหาก็ต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลมด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ดังนี้

 

1. ทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ลูกพรุน ข้าวโพด แอปเปิล ฝรั่ง มะละกอ เป็นต้น เพื่อจะช่วยเพิ่มเส้นใยการขับถ่าย โดยอาหารที่มีกากมากจะต้านทานการย่อยของน้ำย่อยที่จะไปดูดน้ำภายในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายอุจจาระได้รวดเร็ว แนะนำให้ทานใยอาหาร 20-30 กรัมต่อวัน

 

2. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และทำงานได้ดีขึ้น เมื่ออวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น ก็จะไปส่งผลให้ลำไส้ขยับเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทำให้อาหารส่งผ่านไปได้สะดวก หากนั่งนิ่งอยู่เฉยๆ ลำไส้ไม่ได้เคลื่อนไหว กากอาหารเหล่านั้นก็จะยิ่งแข็งค้างอยู่ในลำไส้ ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ทั้งนี้ หากไม่มีเวลามาก แนะนำให้เดินออกกำลังกายสัก 20-30 นาทีก็พอจะช่วยให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวแล้ว

 

3. หากรู้สึกปวดอุจจาระให้เข้าห้องน้ำทันที อย่ากลั้นไว้ เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเพิ่มอาการท้องผูก

 

4. ฝึกเข้าห้องน้ำขับถ่ายทุกเช้าให้เป็นกิจวัตร โดยควรนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที ไม่ควรเร่งรีบเกินไป

 

5. ดื่มน้ำให้มากๆ เราคงเคยได้ยินคนแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องอื่นๆ แล้ว การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกด้วย เพราะน้ำจะไปช่วยให้กากอาหารอ่อนตัวลงได้

 

6. งดดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีสารที่ทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลง แต่จะไปกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ส่งผลให้อาการท้องผูกตามมา

 

7. ยาระบาย หรือยาถ่าย สามารถใช้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานานๆ เพราะไม่ได้ช่วยรักษาอาการท้องผูกให้หายขาด แต่กลับยิ่งทำให้ร่างกายไม่ถูกกระตุ้นให้ขับถ่ายตามเวลาที่ควรจะเป็น เพราะลำไส้จะชินต่อยากระตุ้นพวกนี้ หากมีอาการท้องผูกขึ้นมาอีกก็ต้องใช้ยาแรงขึ้นเรื่อยๆ

 

8. พยายามลดความเครียดลง ทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส

 

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Coconut oil extra virgin )   มีประโยชน์หลากหลายด้าน ที่เห็นผลได้ชัดคือช่วยในการระบายท้อง เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกและผู้ที่ท้องเสียบ่อยๆ ก็สามารถทานได้ เนื่องจากสารฆ่าเชื้อธรรมชาติจาก น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Coconut col extra virgin )   จะเข้าไปฆ่าเชื้อโรคตามลำไส้ ไม่ว่าเชื้อไวรัส แบคทีเรียที่อันตรายต่อร่างกายจะตาย และทำให้การท้องเสียลดลง แต่จะไม่ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่สำคัญต่อร่างกาย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapok

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

- พาส่อง เทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม ปี 2020        

- ห่วงใยสุขภาพ 8 น้ำมันทานยังไงก็ไม่อ้วน ต่อต้านไขมันทรานส์


บทความที่น่าสนใจ

น้ำมันมะพร้าว นำมาปรุงอาหารดีไหมเหมาะหรือไม่วันนี้มีคำตอบ

น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline water ) ตัวช่วย บรรเทาอาการ แสบท้อง