จะลดน้ำตาลเลือกสารให้ความหวานแบบไหนดีกว่ากัน
สารให้ความหวานยังใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ควบคุมน้ำหนัก และดูแลรูปร่าง เพราะนอกจากจะทำให้ไม่อ้วนแล้วยังดีต่อสุขภาพ จึงทำให้ได้รับความนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
สารให้ความหวานที่ถือว่านิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
แอสปาแตม( Aspartame )
เป็นน้ำตาลเทียมที่ทำจากสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ จะให้ความหวานกว่าน้ำตาลธรรมชาติถึง 200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายแต่จะทิ้งรสขมเล็กน้อยหลังจากทาน ทั้งยังไม่ให้เกิดภาวะฟันผุและไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือดสูง จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในเครื่องดื่มน้ำอัดลมและคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน คณะกรรมการอาหารและยาในอเมริกาได้ยอมรับสารแอสพาแตมเมื่อปี 1980 และในปี 1983 ก็ยอมให้ใช้แอสพาแตมผสมในเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์อาหารและยาที่มีแอสพาแตมเป็นส่วนประกอบมากถึง กว่า 6,000 ชนิดทั่วโลก สามารถใช้แทนความหวานให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เพราะตัวแอสปาแตมไม่มีพลังงานจึงไม่มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แต่มีข้อเสียเพราะโครงสารของแอสปาร์แตมจะเปลี่ยนไปเมื่อโดนความร้อนสูงและเมื่อเก็บไว้นาน จึงไม่ควรใช้แอสปาร์แตมปรุงอาหารที่ตั้งไฟร้อนๆ และไม่ควรเก็บไว้นานๆ
ถึงแม้ว่าจะแอสปาแตมจะให้พลังงานน้อยมาก แต่มีงานวิจัยเชื่อมโยงแอสปาร์แตมเข้ากับอาการปวดไมเกรนในผู้ใช้บางคน และความเป็นสารเคมีเมื่อบริโภคไปนานๆ อาจให้ผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังมีผลจากงานวิจัยบางตัวเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้ถ้าทานในระหว่างตั้งครรต์ แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะออกมาต้านทานโดยมีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่า แอสพาแตมไม่ได้เลวร้ายอย่างที่นักวิทยาศาสตร์พวกหนึ่งโจมตีกล่าวหา แต่อย่างไรก็ตามที่อะไรมากเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น เอาเป็นว่ารับประทานอย่างมีสติและใช้อย่างพอดี ไม่พึ่งพามากจนเกินไปก็ไม่เกิดผลเสีย
ซูคราโลส( Sucralose )
ซูคราโลสเป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัยถึงแม้จะเป็นเคมีแต่ก็เป็นเคมีที่ ไม่มีสารสะสมในร่างกายเนื่องจากขบวนการผลิตองค์การอนามัยโลกยอมรับเป็นทางการแล้วว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่าน้ำตาลจากธรรมชาติ เดี๋ยวนี้น้ำอัดลมบางยี่ห้อก็ใช้ความหวานจากซูคราโลสจึงโฆษณาว่าดื่มแล้วไม่อ้วน และยังนิยมใช้ซูคราโลสให้ความหวานกับขนม ชา กาแฟที่โฆษณาว่าดื่มเพื่อลดความอ้วนเพื่อสุขภาพ เป็นต้น ข้อดีของซูคราโลส คือให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาล อร่อยแต่ไม่มีรสขมติดลิ้นและไม่ให้พลังงาน ละลายน้ำได้ดี ใช้ปรุงอาหารและขนมทุกชนิดที่ต้องใช้ความร้อนสูงและไม่สูญเสียความหวาน ไม่เหมือนน้ำตาลเทียมที่ใส่ได้เฉพาะกาแฟ ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับสารให้ความหวานอื่นๆ ไม่ทำให้ฟันผุเหมือนรับประทานน้ำตาล และเก็บรักษาเช่นเดียวกับน้ำตาล
หญ้าหวาน ( Stevia )
เป็นสารแทนความหวานที่ดีที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุด จะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 250 – 300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน จึงทำให้มีพลังงานน้อยมาก หญ้าหวานจะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อยและรสหวานจะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย ข้อดีของหญ้าหวานก็คือสามารถแทนทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสโดยไม่สลายตัว ดังนั้นนอกจากจะใช้ใส่ในเครื่องดื่มแล้วยังสามารถเอามาทดแทนน้ำตาลในการปรุงอาหาร ที่ต้องผ่านการหุงต้มได้อีกหลายอีกชนิด ซึ่งชนชาติญี่ปุ่นและเกาหลีก็ใช้กันมานาน ทั้งในการหมักเนื้อ หมักปลา หมักผักดอง เครื่องดื่ม ก็ใช้หญ้าเป็นสารทดแทนความหวานรวมไปถึงยาสีฟันที่ลดอาการฟันผุได้ด้วย โดยสรุปแล้วหญ้าหวานน่าจะเป็นสารทดแทนความหวานที่ปลอดภัย และยังไม่มีรายงานข้อแทรกซ้อนจากการใช้ และได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่อนุญาตให้นำสารสกัดจากหญ้าหวานมาขึ้นทะเบียนเป็นสารหวานแทนน้ำตาลได้ อาจจะหาซื้อยากซักหน่อย
น้ำหวานดอกมะพร้าว ( Coconut syrup )
น้ำหวานดอกมะพร้าว ( coconut syrup ) เป็นน้ำหวานเข้มข้นที่ผลิตได้จากดอกมะพร้าวธรรมชาติ 100% โดยไม่ใช่วัตถุกันเสีย ไม่เติมสี ไม่ใส่กลิ่น รวมทั้งไม่เจือปนน้ำตาลทรายแดง สามารถใช้แทนความหวานของน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม รสชาติหวานกลมกล่อม เหมาะสำหรับปรุงอาหารทำขนม ผสมเครื่องดื่มนอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์และสารอาหาร ที่ครบถ้วน เช่น เหล็ก ทองแดง โพแทสเซียม กรดอะมิโน เกลือแร่ วิตามินซี และวิตามินบี1 ที่มีมากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น เป็นต้น ร่างกายจึงดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เลือด อย่างช้าๆ ทำให้ได้พลังงานอย่างสม่ำเสมอดีต่อสุขภาพ แถมแคลอรี่ต่ำกว่าน้ำตาลทั่วไปด้วย ใช้ได้ดีกับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือคนที่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลที่ยังต้องการความหวาน เหมาะสำหรับผู้ใส่ใจในสุขภาพ เพราะมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงและป้องกันโรคเบาหวานได้
วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแม้จะดู ว่ามีประโยชน์และนำมาใช้แทนที่น้ำตาล เพื่อลดพลังงาน และในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการบริโภคน้ำตาล แต่การบริโภคในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ เพราะวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิดนั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก lovefitt
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
บทความที่น่าสนใจ